ครอบครัวในทัศนคติของชาวเวียดนามนั้นเป็นเหมือนหน่วยมี่เล็กที่สำคัญที่สุดในบรรดาสถาบันทางสังคม เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นขงการเรียนรู้ก่อนที่จะออกมาสู่สังคมส่วนรวม ครอบครัวในสังคมเวียดนามปกติแล้วประกอบไปด้วย พ่อแม่ และลูก แต่บางครอบครัวมี 3 รุ่น 4 รุ่น อาศัยอยู่รวมกันในครอบครัวเดียว อาจะเรียกได้ว่า พื้นฐานของครอบครัวส่วนใหญ่จัดเป็นเป็นครอบครัวในลักษณะครอบครัวขยาย ตามความเชื่อของชาวเวียดนาม กล่าวว่า ถ้าครอบครัวไหนอยู่ร่วมกัน ถึง 4 รุ่น นั้นเชื่อกันว่าเป็นครอบครัวที่มีความสุข อย่างไรก็ตาม ทัศนคติของชาวเวียดนามเกี่ยวกับครอบครัวตามแบบประเพณีดั้งเดิมนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปตามระบบทางการเมืองและสังคม
ลัทธิขงจื้อ ( Nho giáo) มีอิทธิพลต่อ แนวคิดเรื่องการให้ความสำคัญกับผู้อาวุโส และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวของชาวเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ความเชื่อเกี่ยวกับหลักคำสั่งสอนของขงจื้อนั้นได้ผสมผสานกับความเชื่อเดิมของชาวเวียดนาม จึงทำให้ชาวเวียดนามยอมรับหลักคำสอนดังกล่าโดยง่าย ส่วนเรื่องการประพฤติปฏิบัติในครอบครัวของชาวเวียดนามส่วนใหญ่แล้วมักจะให้ความสำคัญในเรื่องการเคารพผู้ที่อาวุโส มากกว่า และในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละทิ้งหรือละเลยที่จะอุปถัมภ์ผู้ที่ต่ำกว่าด้วยเช่นกัน ในบ้านของชาวเวียดนามพี่น้องต้องอยู่กันอย่างสงบสุข รักใคร่ปรองดอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ความกตัญญู นั้นเป็นศีลธรรมประจำใจมีความสำคัญที่สุดของมนุษย์ เพื่อการตระหนักและสำนึกในบุญคุณ ของ บิดามารดา ที่ให้ชีวิตและเลี้ยงดูมาจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่
อาจจะเป็นเพราะทัศนคติที่ว่ามองเห็นความสำคัญกับเพศชายและดูหมิ่นดูแคลนเพศหญิง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสามี ภรรยาในครอบครัวเวียดนามแบบดั้งเดิมตามหลักคำสอนของขงจื้อในระบบสังคมแบบศักดินานั้นไม่มีความเสมอภาค และถูกจำกัดสิทธิ์ฝ่ายหญิงอย่างมาก โดยฝ่ายหญิงที่เป็นภรรยาจะต้องอยู่ภายใต้โอวาท ของผู้ที่เป็นสามี ส่วนในเรื่องของการแต่งงานและครอบครัวถือเป็นการดำรงและสืบทอดสายตระกูล ดังนั้นผู้ที่เป็นบุตรจะต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ซึ่งเราจะเห็นได้จากสุภาษิตเวียดนาม บทนี้ “พ่อแม่จับนั่งตรงไหนก็นั่งอยู่ตรงนั้น” ( Đầu con ngồi ấy) ซึ่งจากสุภาษิตกล่าวถึงการเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา นอกจากนั้นยังมีเรื่องของบทบาทและภาระหน้าที่ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของผู้หญิง นั่นก็คือผู้ที่เป็นสะใภ้ จะต้องให้กำเนิดบุตร ให้กับสามี ยิ่งในสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่อย่างเวียดนาม หรือจีน ถ้าภรรยาให้กำเนิดบุตรที่เป็นเพศชาย ยิ่งจะสร้างความพึงพอใจให้แก่คนในวงศ์ตระกูลเป็นอย่างมาก เราคงปฏิเสธความเชื่อดั้งเดิมไปไม่ได้ในเรื่องนี้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่วัฒนธรรมการอย่างมีบุตรเพศชายยังคงอยู่คู่กับสังคมเวียดนามเรื่อยมา ในสมัยก่อนถึงกับมีการตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้กำเนิดบุตรอย่างไม่เป็นทางการว่า ถ้าภรรยาไม่ได้ให้กำเนิดบุตรที่เป็นเพศชาย ผู้เป็นภรรยาจะต้องยอมให้สามีมีภรรยาน้อย โดยไม่มีสิทธ์ตอบโต้ใดใดแก่ผู้ที่เป็นสามี เนื่องมาจากคุณอาจะทำหน้าที่ภรรยาได้ไม่ดีพอ
ในบรรดาบุตรทั้งหมด บุตรชายคนโตจะเป็นคนที่สำคัญที่สุด และบุตรชายคนโตจะได้รับมรดก และทรัพย์สินของพ่อแม่หรือ เป็นผู้สืบสายตระกูล บุตรชายคนโตจะมีภาระหนักกว่าบุตรคนอื่นๆ คือ เขาจะต้องเลี้ยงดู พ่อแม่เมื่อยามแก่เฒ่า ในกรณีที่พ่อแม่ได้เสียชีวิตไปก่อน ผู้เป็นพี่จะต้องเลี้ยงดู ผู้เป็นน้องให้เจริญเติบโตจนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ และเป็นคนจัดหาคู่ครองให้แก่พวกเขา นอกจากนั้นลูกชายคนโตจะต้องดูแลเรื่องการเคารพหลุมศพบรรพชนและพิธีกรรมการไหว้บูชาบรรพบุรุษของครอบครัวและวงศ์ตระกูล
ถ้าเป็นครอบครัวแบบดั้งเดิมของประชาชนทั่วไป ก็ได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื้อเช่นเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้เคร่งครัดในหลักคำสั่งสอนมากนัก สิ่งไหนที่ดี ก่อเกิดประโยชน์ เหมาะสมกับเขาเขาก็จะดำเนินตามหลักคำสั่งสอนนั้น เช่น ในครอบครัว ลูกสาวต้องกตัญญู สามีภรรยาใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข และช่วยเหลืองานในครอบครัว บุตรชาย บุตรสาว ก็ล้วนมีสิทธ์ได้รับการแบ่งปันมรดกอย่างเท่าเทียมกัน แม้ว่าบุตรชายจะได้รับการแบ่งปันมรดกมากว่าแต่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับครอบครัวก็มีมากกว่าเช่นเดียวกัน ถ้าครอบครัวไหนไม่มีบุตรชาย บุตรสาวก็จะเป็นผู้รับมรดกและมีสิทธิ์ในการดูแลและจัดการเกี่ยวกับการไหว้บูชาบรรพบุรุษ
ตลอดระยะเวลากว่า 1,000 ปี ในยุคศักดินา ผู้หญิงเวียดนามขาดสิทธิในด้านศึกษา ไม่ได้รับสิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และในช่วงเวลาภายใต้ยุคอาณานิคมฝรั่งเศส ครอบครัวชาวเวียดนามตามแบบฉบับลัทธิขงจื้อ ก็ได้สั่นคลอน แนวคิดและอุดมการณ์แนวใหม่ได้เข้ามาแทนที่ เช่นการได้สิทธิในการศึกษาหาความรู้ การแต่งงานและการเลือกคู่ครอง บนพื้นฐานของความรัก ผู้หญิงมีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น หลังจากทีเวียดนามได้รับอิสรภาพ ในเดือนสิงหาคม ปี 1945 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้รับรู้ในสิ่งใหม่ๆ ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และ ทัศนคติมุมมองเกี่ยวกับครอบครัวก็มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตใหม่ แต่ผู้คนต้องการรักษาและคงไว้ในสิ่งที่สวยงามของระบบครอบครัวแบบดั้งเดิมไว้ และละทิ้งในจุดที่ไม่ดีในเรื่องของผู้หญิงและลูกสาวในระบบครอบครัวเพื่อสร้าง “ครอบครัวที่มีวัฒนธรรมแบบใหม่” ซึ่งเป็นครอบครัวที่มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน มีความเสมอภาคและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน พ่อแม่มีภาระหน้าที่ในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนบุตรให้กลายเป็นคนว่านอนสอนง่าย เป็นประชากรที่ดีของสังคม และมีความกตัญญูรู้คุณ มีความรับผดชอบต่อตัวเอง ครอบครัวและสังคม
สนับสนุนการโม้อย่างเป็นทางการ
dunglac.org/
baoninhbinh.org.vn
Báo Dân Trí
My marriage chronicles - 3 Months
-
*T*hat day, was as normal as any other day, or so I thought. Of-course I
have heard about mood swings, and have experienced them myself, and have
tolerat...
11 ปีที่ผ่านมา